ภัยพิบัติทางธรรมชาติใกล้ตัวเราจัดเรียงตามอัตราการเกิดบ่อย ประกอบด้วยน้ำท่วมหรืออุทกภัย พายุฤดูร้อน ภัยแล้ง ดินโคลนถล่ม ไฟป่า แผ่นดินไหวสึนามิและไต้ฝุ่น (พายุหมุนเขตร้อน) ซึ่งภัยพิบัติแต่ละประเภทมีหน่วยงานเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ดังนี้
กรมอุตุนิยมวิทยา
ภารกิจหลัก: ติดตามสภาพอากาศ ความเสี่ยงเกิดอุทกภัยจากฝนตกหนัก และแนวโน้มจะเกิดพายุฤดูร้อน
การแจ้งเตือน: แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าผ่านทางสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ ทางระบบข้อความสั้น (SMS) ระบบสารสนเทศ และแจ้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อแจ้งเตือนไปยังจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย
กรมชลประทาน
ภารกิจหลัก: ติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง และแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ
การแจ้งเตือน: แจ้งเตือนภัยไปยังจังหวัดที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง
กรมทรัพยากรธรณี
ภารกิจหลัก: เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดธรณีพิบัติภัย เช่น ดินโคลนถล่ม หินถล่ม ดินไหล รอยแยก และหลุมยุบ
การแจ้งเตือน: แจ้งเตือนผ่านทางสื่อทุกประเภท เช่น โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ (SMS) อินเทอร์เน็ต และหอกระจายข่าวในพื้นที่เสี่ยงภัย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
ภารกิจหลัก: เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดสึนามิ และแผ่นดินไหวทั้งบนบกและในทะเล
การแจ้งเตือน: แจ้งเตือนภัยผ่านทางสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ ทาง SMS ระบบสารสนเทศ และแจ้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อแจ้งเตือนภัยไปยังจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภารกิจหลัก: เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ไฟป่า
การแจ้งเตือน: แจ้งเตือนภัยผ่านทางสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยทางเว็บไซต์